เซซามิน เซซาโมลิน เซซามอล

เซซามิน (Sesamin) เซซาโมลิน (sesamolin) และเซซามอล (Sesamol) คือสารพฤกษเคมี (Phytochemical) กลุ่มลิกแนน ที่อยู่ในงาและน้ำมันงา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านอักเสบ 

ในงาและน้ำมันงามีองค์ประกอบที่เป็นสารอาหารเช่น โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมี องค์ประกอบเหล่านี้ บางชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพ(Bioactive components) ต่อต้านหรือป้องกันโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของร่างกายรวมถึงโรคมะเร็ง  โดยช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำหน้าที่ต้านการอักเสบ บางชนิดทำลายสารก่อมะเร็ง (1,2)

องค์ประกอบของสารชีวภาพในงาและน้ำมันงา (3)

เซซามิน เซซาโมลิน เซซามอล

ตารางจาก  https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4127822/

ในงาดิบมีเซซามินประมาณ  0.5-1.1%,  เซซาโมลิน  0.2-0.6%, และเซซามอลปริมาณเล็กน้อย (4)  ความสำคัญของสารกลุ่มนี้ คือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ จึงมีการศึกษาถึงศักยภาพในการนำมาใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบและโรคมะเร็ง

เนื่องจากมีการนำน้ำมันงามาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน  งานวิจัยจึงมีความหลากหลาย บางการศึกษาเป็นการศึกษาประโยชน์ของการรับประทานงา  บางการศึกษาเป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ของน้ำมันงา ในขณะที่บางการศึกษาเป็นการใช้ประโยชน์ของสารสำคัญที่เฉพาะเจาะจงแต่ละชนิดในน้ำมันงา เช่น เซซามิน  งานวิจัยจำนวนมากยังอยู่ในระดับห้องทดลอง เช่นในหลอดทดลอง ในสัตว์ทดลอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำคุณสมบัติต่างๆในงาและน้ำมันงามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ยังคงจำเป็นต้องได้รับการศึกษาวิจัยในมนุษย์ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาและข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต ในปัจจุบันมีการนำน้ำมันงาสกัดเย็นมาใช้ในรูปแบบของRead More

น้ำมันประสานกระดูก ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน

ภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้าน การใช้น้ำมันงาสกัดเย็นในการรักษาโรคกระดูกและข้อ

หมอพื้นบ้าน, น้ำมันประสานกระดูก

การใช้น้ำมันชนิดต่างๆ มาใช้ในการบรรเทาอาการตลอดจนรักษาความเจ็บป่วยในเรื่องกระดูกและข้อ มีมาแต่โบราณ ในปัจจุบันยังมีการใช้น้ำมันต่างๆอยู่ เช่น น้ำมันเหลือง น้ำมันไพล น้ำมันขัดมอน น้ำมันประสานกระดูก

ในแต่ละชุมชน แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ยังมีหมอกระดูกพื้นบ้านที่ทำการรักษาโรคกระดูกของผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลอยู่ การรักษาของหมอกระดูกแต่ละคนจะมีความเหมือนกันบ้างและแตกต่างกันบ้าง นํ้ามันประสานกระดูกเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ สูตรน้ำมันประสานกระดูกของหมอพื้นบ้านแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่เป็นการร่ำเรียนสืบทอดกันมาไม่ได้บันทึกไว้อย่างเป็นกิจลักษณะ โดยส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่น้ำมันและสมุนไพรที่ใช้ประกอบในน้ำมัน นํ้ามันที่ใช้มีหลายชนิดแตกต่างกันไป เช่นน้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา นํ้ามันเลียงผา น้ำมันละหุ่ง เป็นส่วนของนํ้ามันประสานกระดูก คลายเส้น ลดอาการปวดบวม ร่วมกับสมุนไพรต่างๆ ได้แก่ ไพล ขมิ้นขาว เถาวัลย์ เปรียง เถาเอ็นอ่อน พญาท้าวเอว ว่านนางคำ พญาไร้ใบ ใบพลับพลึง โดยแต่ละสูตรมักใช้ร่วมกับการบริกรรมคาถาหรือบทสวดร่วมด้วย

ถึงแม้การแพทย์แผนปัจจุบันจะมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก การรักษาโดยหมอพื้นบ้านยังคงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยทั้งในกรณีที่เข้าไม่ถึงการแพทย์แผนปัจจุบันและกรณีที่ต้องการใช้รักาาร่วมกัน

การพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน โดยนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่มีความทันสมัยและมีเครื่องมือการวินิจฉัยติดตามผลการรักษาที่แม่นยำ จึงน่าจะเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด

อ้างอิง

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/48912/45734

http://saomeaunwai.go.th/info.php?cg=2&ct=16

งาขี้ม่อน :โอเมก้า3แห่งขุนเขา

งาขี้ม่อน (Perilla)

งาขี้ม่อนมีชื่อทางวิทยสศาสตร์ว่า Perilla frutescens L. เป็นพืชตระกูลมิ้นต์ (Lamiaceae) มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อเช่น งาขี้ม่อน งาม่อน งาม้อน งาขี้ม้อน งามน งาปุก ดั้งเดิมเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สำหรับในประเทศไทยพบการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนและเชิงเขา ในจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน ในปัจจุบันมีการปลูกกระจายไปยังในที่อื่นๆทั้งในอเมริกา ยุโรปและตะวันออกกลาง

เหตุที่เรียกว่าขี้ม่อนหรืองาขี้ม้อนนั้น มาจากลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับมูลของตัวหม่อนหรือม้อนที่ให้เส้นใยไหม (1) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับเมล็ดงา แต่รูปร่างจะเป็นเม็ดกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลหรือสีเทา นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหาร กินเล่น เช่น คุกกี้ หรือข้าวหนุกงา

งาขี้ม่อน
งาขี้ม่อน/ งาม่อน/ งาม้อน/ หรืองาขี้ม้อน (Perilla seed)

นอกจากนำมาใช้ในการประกอบอาหารแล้ว งาขี้ม่อนยังถือเป็นพืชสมุนไพร เม็ด น้ำมัน และใบยังมีสรรพคุณทางยาใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนโบราณในหลายประเทศ ในแพทย์แผนจีนใช้ส่วนใบ ราก และเม็ดงาขี้ม่อนเป็นสมุนไพรในการรักษาโรคทางเดินหายใจ โรคหอบหืด ไอ ละลายเสมหะ หวัด คัดจมูก แผลร้อนใน อาหารเป็นพิษ(2) การที่งาขี้ม่อนมีคุณสมบัติในการดูแลรักษาสุขภาพนอกเหนือไปจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วเราอาจจะเรียกได้ว่างาขี้ม่อนจัดเป็นอาหารฟังชั่น…

Read More

อาการปวดกับน้ำมันงาสกัดเย็น

น้ำมันงาสกัดเย็นกับการบรรเทาอาการปวด

อาการปวด เป็นภาวะที่คู่กับคนเรามาช้านาน มักมาตามความเสื่อมและถดถอยของร่างกาย มีสาเหตุได้หลายอย่าง การรักษาอาการปวดมีหลายวิธี ตั้งแต่การรับประทานยาแผนปัจจุบันหลากหลายชนิด การบริหารร่างกายหรือกายภาพบำบัด จนถึงการรักษาตามการแพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนโบราณ

น้ำมันงาสกัดเย็นเป็นน้ำมันที่ใช้ในทางการแพทย์พื้นบ้านมาเป็นระยะเวลานาน และในหลายพื้นที่ทั่วโลกเช่นในประเทศจีน ไต้หวัน ตะวันออกกลาง ในประเทศไทยเองก็มีตำหรับยานวดหลายชนิดที่มีน้ำมันงาเป็นส่วนประกอบเช่น น้ำมันเหลือง น้ำมันขัดมอน น้ำมันสมานกระดูก การศึกษาในปัจจุบันพบว่าในน้ำมันงามีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านแบคที่เรีย

มีการทดลองที่น่าสนใจอันหนึ่งที่ทดสอบถึงการใช้น้ำมันงาบริสุทธิ์ 100 % ในการทาบรรเทาอาการปวด โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 150 คน ที่มีอาการปวดภายหลังจากประสบอุบัติเหตุ นำผู้ป่วยมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 75 คน โดยให้การดูแลรักษาและจัดยาให้เหมือนกันทั้งสองกลุ่ม แต่เพิ่มการทานวดด้วยน้ำมันงาในบริเวณที่มีอาการปวดวันละครั้งสำหรับกลุ่มที่หนึ่ง(กลุ่มทดลอง) ส่วนกลุ่มที่สองไม่ได้รับการทานวดด้วยน้ำมันงา(กลุ่มควบคุม)

หลังจากนั้นประเมินระดับอาการปวดและปริมาณยาแก้ปวดที่ทั้งสองกลุ่มใช้เมื่อเวลาผ่านไป 10 วัน พบว่ากลุ่มที่ทานวดด้วยน้ำมันงามีระดับอาการปดลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้น้ำมันงาอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่วันที่สามของการทดลอง นอกจากนั้นยังมีการร้องขอยาแก้ปวดน้อยกว่า ผู้วิจัยให้ความเห็นว่าควรจะมีการนำน้ำมันงามาใช้บรรเทาอาการปวดร่วมกับการดูแลตามการแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากมีความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และลดการใช้ยาแก้ปวดซึ่งมีผลข้างเคียงต่างๆลงได้

หากผู้อ่านสนใจอ่านงานวิจัยต้นฉบับคลิกไปดูได้ที

Read More

Oil Pulling – ออย พูลลิ่ง

Oil Pulling หรือการกลั้วปากด้วยน้ำมันสกัดเย็น เป็นศาสตร์การแพทย์แผนอินเดีย(อายรุเวท) โดยเชื่อว่าเป็นการล้างพิษและปรับสมดุลของร่างกาย โดยอยู่บนพื้นความเชื่อที่ว่าสุขภาพในช่องปากบ่งบอดถึงสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้ ซึ่งการแพทย์แผนผปัจจุบันพบว่าในช่องปากเป็นแหล่งของจุลินทรีย์หลายชนิด และปัญหาสุขภาพในช่องปากมีความสัมพันธ์กับโรคบางอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน

ในตำราแพทย์อายุรเวชของอินเดียมีการกล่าวถึงการใช้น้ำมันในการกลั้วปาก นิยมใช้น้ำมันงาสกัดเย็นหรือน้ำมันมะพร้าวสะกัดเย็น ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ อมกลั้วปากและร่องฟัน นาน 5-20 นาที แล้วบ้วนทิ้ง บ้วนน้ำสะอาดตาม ในทางวิทยาศาสตร์กระบวนการดังกล่าวช่วยลดเชื้อโรคต่างๆในช่องปากและลดการสะสมของหินปูน ทำให้สุขภาพช่องปากสะอาดแข็งแรง ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆเช่น โรคหัวใจเป็นต้น

อ้างอิง

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5198813/

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

เพิ่มเพื่อน

กลับสู่หน้าแรก

Read More

น้ำมันงาสกัดเย็น คือ?

น้ำมันงาสกัดเย็น คือ :

 

การแยกน้ำมันออกจากเม็ดงาด้วยวิธีการบดบีบอัดด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ครกไม้ ครกหิน หรือเครื่องจักร ที่อุณหภูมิปกติของเม็ดงา(เม็ดงาดิบที่ไม่ผ่านการคั่ว) จนได้น้ำมันออกมา แล้วนำมาผ่านกระบวนการตกตะกอน ซึ่งกระบวนการนี้ ในสมัยโบราณต้องตั้งน้ำมันงาที่ได้ทิ้งไว้ 1-3 เดือนเพื่อให้ตกตะกอนแล้วตักเอาส่วนที่ใสมาบรรจุภาชนะเพื่อนำไปใช้ต่อไป ในปัจจุบันทางมีการใช้กระบวนการกรองที่ละเอียดและมีประสิทธิภาพมาใช้แทนการตกตะกอน  ทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพดีในระยะเวลาที่เร็วขึ้น ช่วยให้ลดระยะเวลาที่น้ำมันสัมผัสกับอากาศ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้น้ำมันที่ได้คงคุณค่าโดยเฉพาะ วิตามินอี กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดต่างๆ และสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันงาสกัดเย็นไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังคงกลิ่นหอมธรรมชาติที่เป็นกลิ่นเฉพาะตัวของน้ำมันงาไว้ได้

ข้อดีอีกประการหนึ่งของกระบวนการสกัดเย็นคือ การได้น้ำมันออกมาโดยตรงจากเมล็ดงา ทำให้ไม่ต้องผ่านกระบวนการแยกน้ำมันด้วยสารเคมีใดๆ

สำหรับเรื่องอุณหภูมิของน้ำมันงาในกระบวนการสกัดเย็น ในทางปฏิบัติแล้ว การบด บีบอัด เม็ดงา จะเกิดความร้อนขึ้นระดับหนึ่ง ตามกลไกการบดบีบอัดของเครื่องมือและเม็ดงา แต่เครื่องมือที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นครกไม้ ครกหิน หรือเครื่องจักรระบบ screw press cold process จะทำงานด้วยความเร็วรอบต่ำ จึงควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนที่สูง โดยทั่วไปจะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 80°- 120°F (27°- 49°C)  ในประเทศไทยเท่าที่หาข้อมูลยังไม่พบเรื่องมาตรฐานอุณหภูมิของคำว่าน้ำมันงาสกัดเย็นครับ

น้ำมันงาสกัดเย็นแตกต่างจากน้ำมันงาที่ใช้ปรุงอาหารที่วางขายอยู่ในท้องตลาดอย่างไร?

ในท้องตลาดมีน้ำมันงาอยู่ 2 ประเภทคือ Cold pressed sesame oil (น้ำมันงาสกัดเย็น) จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส กลิ่นหอมอ่อนๆ  ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ได้แก่ การประกอบอาหาร การใช้ในผลิตภัณฑ์สปาและความงาม ใช้ในการแพทย์พื้อบ้าน

การนำไปใช้ประกอบอาหารให้คุ้มค่า และคงคุณประโยชน์ของน้ำมันงามากที่สุด นิยมใช้ประกอบอาหารที่ความร้อนไม่สูงมาก เช่น ยำ…

Read More

ประโยชน์ของน้ำมันงาดำกับกระดูกและข้อ

น้ำมันงาดำ มีสารต้านอนุมูลอิสระเซซามิน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด ชะลอการเสื่อมของกระดูกและข้อ โดยใช้ประกอบอาหาร ใช้ในการทานวดโดยตรงหรือเข้ายาสมุนไพร

คลิปความรู้สั้นๆ เรื่องของน้ำมันงา กับกระดูกและข้อจากรายการสโมสรสุภาพ Dr.share ครับ

กลับสู่หน้าแรก

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลได้ที่

เพิ่มเพื่อน

ติดตามน้ำมันงาตรากล้วยไม้ได้ทาง

Facebook : จำหน่ายน้ำมันงาตรากล้วยไม้

ดาวน์โหลด

Read More